ENERGY BUSINESS AND ENGINEERING
 
การศึกษาความเป็นไปได้โครงการ Feasibility Study of Solar Project


การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการพลังงานแสงอาทิตย์


          การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ Feasibility Study คือการศึกษาวิเคราะห์และจัดทำเอกสารของโครงการฯ ประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อเป็นการแสดงถึงเหตุผลที่จะสนับสนุนถึงความเหมาะสมของโครงการ สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง ให้ผลประโยชน์ตอบแทนคุ้มค่าต่อการลงทุน เน้นเรื่องที่สำคัญที่ผู้รับผิดชอบโครงการจะต้องจัดขึ้นเพื่อให้ได้โครงการที่ดี มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงให้บรรลุวัตถุประสงค์ภายใต้ข้อจำกัดในด้านงบประมาณ เวลา และลักษณะของผลผลิตของโครงการ ที่ต้อง การโดยมีขอบข่ายการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ เช่น ในด้านเทคนิค ด้านการจัดการ ด้านการตลาด ด้านการเงิน ด้านเศรษฐกิจ ด้านส้งคม การเมือง และด้านสภาพ แวดล้อมและสภาวะนิเวศน์ เป็นต้น ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะ ด้านเทคนิคและด้านการเงิน

        การศึกษาด้านเทคนิค Technical Study  เป็นการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆ เป็นในเชิงเทคนิคหรือวิชาความรู้ อันจำเป็นต่อการทำงานในแต่ละกิจกรรมให้สมบูรณ์

        การศึกษาและวิเคราะห์การเงิน Financial Study ถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะโครงการโดยแท้ที่จริงคือการลงทุน โดยโครงการต้องใช้งบประมาณหรือต้นทุน ต้องมีแหล่งที่มาของงบประมาณ มีการจัดวิเคราะห์โครงการ การกำหนดแบบแผนที่เหมาะสม และรวมทั้งการวิเคราะห์รายได้และผลประโยชน์

 

Pre-Feasibility Study การศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น                  

      1.    Project Initiation  การริเริ่มโครงการ หาข้อมูลเบื้องต้นเพื่อการริเริ่มโครงการเป็นขั้นตอนแรก, ข้อมูลโครงการขั้นพื้นฐานจะต้องเก็บรวบรวมเพื่อที่จะตัดสินใจว่า เงื่อนไขที่คาดว่าจะมีความน่าสนใจพอที่จะริเริ่มต้นการพัฒนาโครงการและการที่จะทำให้มีความจำเป็นในการลงทุน ขอบเขตของขั้นตอนต่อไปนี้ คือการระบุการลงทุนขั้นพื้นฐาน และโอกาสของโครงการดังกล่าว

        หาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตลาดโรงไฟฟ้าและโอกาสทางการตลาดที่เกี่ยวข้องด้านอื่นๆ

        ขนาดกำลังการผลิตที่คาดว่าจะต้องการ

        ระดับค่าใช้จ่ายรายได้ และความพร้อมของการเงิน

        นโยบายระดับชาติปและระดับของความเสี่ยงทางการเมือง

        ระดับความเข้มของรังสีแสงอาทิตย์

        โครงสร้างของการดำเนินโครงการ  ความเป็นไปได้และความพร้อมทั่วไปของหน่วยงานก่อสร้าง

2. Finance of Project Assessment Studies การประเมินการจะลงทุนในการทำการศึกษาโครงการ ขั้นตอนนี้คือการหาคู่ค้า และการประเมินการจะลงทุน ทำการศึกษาโครงการ ในชั้นตอนต่อไป

3. Site Ranking  สำรวจหาพื้นตั้งโครงการเบื้องต้น โดยการเก็บข้อมูลและลงพื้นที่จริง เพื่อประเมินศักยภาพ สภาพแวดล้อมโดยรอบพื้นที่ การพิจารณาและตัดสินใจในการหาพื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่เหมาะสม จะต้องพิจารณาถึงอย่างน้อยดังนี้

(1)  Irradiation Resource:  ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ของที่ตั้งโครงการ โดยพิจารณาจากข้อมูล แผนที่ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ ศักยภาพความเข้มรังสีรวม โดยจะต้องทำ เรื่อง Solar Resource Assessment พื้นที่ที่มีศักยภาพสูงของค่าความเข้มแสงเฉลี่ยตลอดทั้งปีต้องไม่ต่ากว่า 19-20MJ/ตารางเมตร-วัน หรือ 5.28 5.65 kWh ต่อวัน

(2)  Land Resources

1. Topography ลักษณะพื้นที่และภูมิประเทศเป็นที่ราบ ไม่ต้องถมหรือต้องปรับพื้นที่มากนัก ไม่ต้องโค่นต้นไม้ขนาดใหญ่

2. Availability ความพร้อม เช่น สถานที่ตั้งต้องอยู่ในที่โลงแจ้งไม่มีร่มเงา เพื่อให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้รับแสงอย่างเต็มที่ ไม่มีสิ่งกีดขวางแสงอาทิตย์ เช่น ภูเขา ต้นไม้ใหญ่

3. Land cover & use สภาพพื้นดินเดิมเป็นอะไร และการใช้ประโยชน์จากที่ดิน

4. Risks ความเสี่ยง เป็นพื้นที่ที่ไม่มีความขัดแย้งของการใช้ที่ดิน การจะซื้อหรือเช่าหากเช่าต้องมีสัญญาเช่าระยะยาว หากเป็นที่ลาดควรลาดลงไปทางทิศใต้ไม่มีน้าท่วมขัง ไม่เป็นที่น้ำไหลผ่าน ในฤดูน้ำหลากหรือหากเป็นพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง ควรมีการปรับแต่งพื้นที่หรือติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ให้สูงพ้นระดับน้ำ

        (3) Infrastructures

          1. Grid Connected  สายส่งว่างหรือไม่?

       Access  เส้นทางการก่อสร้างสายส่ง ระยะห่างของสายส่ง

       Capacity ปริมาณไฟฟ้าที่สายส่งรับได้ เพื่อลดปัญหาและอุปสรรคที่จะส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่ได้

       Distance  อยู่ใกล้กับระบบสายจำหน่ายมากที่สุด เช่น ไม่เกิน 1 กิโลเมตร เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินระบบสายส่งรวมทั้งเกิดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้า

2. Water

       Availability มีแหล่งน้ำสำหรับใช้สอย

3. Other Infrastructure สาธารณูปโภคอื่นๆ

       Access roads  ถนนทางเข้า

       Telecommunication ระบบการสื่อสาร

4. Miscellaneous Information ข้อมูลอื่นๆ

       Knowledge of previous projects & other information from local staff and experts

 

Pre Financial Study การศึกษาการวิเคราะห์ทางด้านการเงินเบื้องต้น

          การศึกษาการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินเบื้องต้น  มีขั้นตอนการศึกษาดังนี้

1. ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล

        ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงการผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตยN และนโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐในการสนับสนุนโครงการดังกล่าว รวมถึงตรวจสอบประเมินราคาต้นทุนในการติดตั้งของโครงการดังกล่าว

        สรุปและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ค้นคว้ามา เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงและแนวทางในการศึกษาวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินสำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์

        วางโครงเรื่องและกำหนดรูปแบบการศึกษาการวิเคราะห์ทางการเงินในโครงการดังกล่าว

2. แผนการดำเนินงาน

        รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่นค้นคว้าจากงานที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน

        หาข้อมูลราคาเซลล์แสงอาทิตย์แต่ละชนิดพร้อมการติดตั้งระบบการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาหาราคากลางเพื่อที่จะใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการคิดต้นทุนในโครงการ

        คำนวณต้นทุนทั้งหมดที่ใช้ในโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้ง

        วิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินโดยอาคารแต่ละประเภทจะคำนวณการติดตั้งของแผงแต่ละชนิดว่าชนิดไหนมีความคุ้มค่าและเหมาะสมที่จะใช้แผงชนิดใด

        ใช้โปรแกรม Excel เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินในโครงการดังกล่าว

        สรุปผลการศึกษาที่ได้

 

การวิเคราะห์ความคุุ้มทุนของโครงการ Analysis of the cost effectiveness of the project.

          การวิเคราะห์ความคุ้มทุนของโครงการ  พิจารณาจาก 4 ตัวชี้วัด ดังนี้

1. มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value – NPV)

ตัวชี้วัด NPV เป็นค่าแสดงถึงความสามารถในการทำกำไรของโครงการ ณ อัตราคิดลดที่กำหนด ซึ่งถ้าหากค่า NPV > 0 แสดงว่า โครงการมีความคุุ้มทุน

2. อัตราผลตอบแทนทางการเงิน (Internal Rate of Return – IRR)

ตัวชีี้วัด FIRR เป็นค่าแสดงถึงอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงของโครงการ ซึ่งถ้าหาก FIRR > อัตราค่าเสียโอกาสของเงินทุน แสดงว่าโครงการมีความ ความคุ้มทุน

4. ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period - PB) ระยะเวลาคืนทุน คือ ระยะเวลาที่ผลตอบ แทนสุทธิ จากการดำเนินงานมีค่าเท่ากับค่าลงทุนของโดยส่วนใหญ่จะกำหนดให้มีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 5 ปี

3. ความสามารถในการชำระหนี้ (Debt Service Coverage Ratio - DSCR) เพื่อเป็นการประกันว่าผู้กู้จะสามารถจ่ายเงินคืนได้ตามสัญญา โดย DSCR = เงินรายได้/ภาระผ่อนชำระหนี้ ซึ่งถ้า DSCR > 1 แสดงว่า โครงการมีความสามารถในการชำระหนี้

 

แผนธุรกิจเพื่อการขอสินเชื่อธนาคาร Business Plan for Loan Requested

แผนธุรกิจ เป็นยุทธศาสตร์หรือเครื่องมือที่สำคัญและจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นรายเล็กหรือรายใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการขนาดเล็กซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของประเทศ

        เนื่องจากแผนธุรกิจประกอบด้วยวิสัยทัศน์ (Vision) ภารกิจ (Mission) วัตถุประสงค์ (Objective) เป้าหมาย (Goal) และแผนการดำเนินงาน อันรวมถึงแผนการบริหารจัดการ แผนการตลาด และแผนการเงิน เพื่อนำพากิจการให้ประสบผลสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

        แผนธุรกิจที่ดีจึงต้องมีเนื้อหาที่ตรงประเด็นกับความต้องการของกิจการ กระชับได้ใจความ เข้าใจง่าย เพื่อให้พนักงานในกิจการ หรือบุคคลภายนอกเข้าใจได้อย่างชัดเจน ถึงวัตถุประสงค์ที่กิจการต้องการที่จะประสบผลสำเร็จในอนาคต โดยในการจัดทำแผนธุรกิจจะทำให้ผู้ประกอบการได้ค้นพบกับโอกาส (Opportunity) อุปสรรค (Threat) จุดเด่น (Strength) จุดด้อย (Weakness) ทำให้ผู้ประกอบการสามารถที่จะวางกลยุทธ์ธุรกิจได้อย่างเหมาะสม 

      ดังนั้น แผนธุรกิจจึงเปรียบเสมือนเข็มทิศหรือแผนที่นำทางให้กิจการมุ่งสู่จุดหมายหรือเป้าหมายได้สำเร็จ ปัจจุบันธนาคารต่างๆ ให้ความสำคัญกับแผนธุรกิจของผู้ประกอบการหรือผู้ขอกู้ ทั้งนี้เป็นเพราะธนาคารจะนำไปใช้เพื่อพิจารณาโครงการที่จะขอสินเชื่อกับธนาคารว่า มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด เหมาะสมหรือไม่ และธนาคารสามารถสนับสนุนสินเชื่อได้หรือไม่ เป็นประเภทสินเชื่อใด และเป็นวงเงินสินเชื่อเท่าไร พร้อมทั้งพิจารณาด้วยว่าโครงการสามารถชำระหนี้คืนธนาคารได้เมื่อใด ควรมีเงื่อนไขและแผนการชำระหนี้คืนเป็นอย่างไร มีระยะเวลาเป็นเท่าใด เพื่อให้สอดคล้องกับประเภทธุรกิจ ลักษณะการดำเนินงาน และความต้องการใช้เงินทุนที่แท้จริง


ประเด็นที่ธนาคารพิจารณาสินเชื่อจากแผนธุรกิจ

1. ความเป็นไปได้ของโครงการ ธนาคารจะพิจารณาว่า โครงการที่จะลงทุนนั้นสามารถจะประสบผลสำเร็จหรือบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้หรือไม่ สามารถทำได้จริงในสถานการณ์ปัจจุบันหรือในอนาคตอันใกล้นี้หรือไม่ อย่างไร โดยต้องมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนและเหมาะสมรองรับไว้หรือไม่ อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนการตลาด จะพิจารณาด้วยว่า ตลาดมีปริมาณความต้องการหรือขนาดตลาด (Market Size) สามารถรองรับได้มากน้อยเพียงใด มีสภาพการแข่งขันรุนแรงเพียงใด อันส่งผลกระทบโดยตรงต่อยอดขายของกิจการ ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องต่อความสามารถในการชำระหนี้คืนธนาคาร (Capacity) ของผู้ประกอบการ

2. มูลค่าการลงทุนทั้งหมด ธนาคารจะพิจารณาว่า มูลค่าการลงทุนดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่ กับประเภทธุรกิจและรายได้ที่คาดว่าจะได้รับ โดยพิจารณาจากขนาดของกิจการในปัจจุบันและที่คาดว่าจะเติบโตขึ้นอนาคต พร้อมทั้งพิจารณาเงินทุน (Capital) ของเจ้าของกิจการ หรือสัดส่วนการลงทุนระหว่างผู้ประกอบการและธนาคาร

3. มีความยืดหยุ่นหรือจัดทำแผนสำรอง หากมีสภาพแวดล้อม (Condition) หรือปัจจัยภายนอกทั้งที่ดีและไม่ดีที่นอกเหนือการควบคุมของผู้ประกอบการเข้ามากระทบ กิจการจะมีความสามารถในการปรับตัวอย่างไรต่อปัจจัยดังกล่าว และจะส่งผลกระทบต่อยอดขายของกิจการว่ามีความสามารถชำระหนี้คืนธนาคารได้หรือไม่ อย่างไร

โดยในแผนธุรกิจ ผู้ประกอบการควรจัดทำแบบจำลองเหตุการณ์ทางการเงิน (Scenario) ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด (Worst Case) ไว้ด้วย เพื่อพิจารณาว่า หากกิจการต้องประสบเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุดแล้ว จะมียอดขายเป็นอย่างไร กิจการจะยังคงมีความสามารถในการชำระหนี้คืนธนาคารได้หรือไม่

 

----------------------------

 







 
เว็บสำเร็จรูป
×